แชร์

มาสเตอร์เฉิด สุดารา บิดาแห่งการแปรอักษร

อัพเดทล่าสุด: 14 ก.พ. 2024
148 ผู้เข้าชม

ในทุกการแข่งขันกีฬาไม่ว่าจะเป็นกีฬาระดับชาติหรือแม้กระทั่งกีฬาภายในโรงเรียน สิ่งที่เราคุ้นชินติดตาคงเป็นการ #แปลอักษร บนอัศจรรย์หลายคนคิดว่ามันคงเริ่มต้นจากงานศิลปะของการใช้พื้นที่แปลภาพแต่จริงๆแล้วการแปรอักษรอยู่คู่กับกีฬาโดยกีฬาที่เราเห็นกันบ่อยบ่อยส่วนมากในสมัยก่อนนั้นก็คือกีฬาอเมริกันฟุตบอลจนโด่งดังเป็นที่รู้จักจริงๆอย่ามาเกี่ยวข้องกับงานศิลปก็ตอนเทศกาลอารีรังของเกาหลีเหนือเป็นครั้งแรกขยายการแปรอักษรเป็นรูปแบบศิลปะ

ส่วนในประเทศไทยรู้มั้ยว่าการแปรอักษรมีมายาวนานมากๆยาวนานมากๆจนไม่คิดเลยว่าจะนานขนาดนั้น การแปรอักษรในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในการแข่งขันฟุตบอลรุ่นกลางชิงชนะเลิศระหว่างทีมโรงเรียนอัสสัมชัญกับทีมโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ปี พ.ศ. 248 โดย คนที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการแปรอักษรนามว่า

เฉิด สุดารา ที่หลายหลายคนรู้จักกันในนามมาสเตอร์ เฉิด สุดารา

ทานพวกนี้คืออดีตศิษย์เก่าที่มาเป็นครูของโรงเรียนอัสสัมชัญ และยังเป็นผู้ก่อตั้งและผู้จัดการโรงเรียนสยามวิทยา และที่โรงเรียนอัสสัมชัญนั้นก็เป็น. กำเนิดเกิดการแปรอักษรขึ้นที่ประเทศไทยโดยครูที่เป็นโค้ดสอนบาสเกตบอล และฟุตบอลของโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2485 ที่ได้มีการแปรอักษรเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ช่วงเวลานั้นอยู่ในยุคของสงครามสิ่งที่หายากมากๆอย่างนึงในยุคนั้นคือผ้า เสื้อที่ใส่กันส่วนมากจึงมีอยู่ไม่กี่สี วันหนึ่ง มาสเตอร์ เฉิด สังเกตเห็นคนกลุ่มหนึ่ง แต่งตัวด้วยเสื้อสีฟ้านั่งกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ จึงเกิดความคิดว่า ถ้านำเอาคนที่แต่งตัวเหมือน ๆ กัน มานั่งเป็นกลุ่มและจัดให้เป็นสัญลักษณ์อะไรก็คงจะทำได้ เวลานั้นโรงเรียนอัสสัมชัญมีการแต่งกายของนักเรียนอยู่ 2 แบบ คือ พวกที่เป็น ยุวชนทหาร จะแต่งเครื่องแบบยุวชนทหาร ส่วนพวกที่ไม่เป็นยุวชนทหารก็จะแต่งตัวด้วย เสื้อราชประแตนสีขาว และใส่หมวกกะโล่สีขาวด้วย มาสเตอร์จึงได้จัดตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการนำเอานักเรียนที่แต่งสีขาวไปรวมกันไว้ตอนบนของอัฒจันทร์ก่อน แล้วนำนักเรียนลงมาทีละกลุ่ม ค่อย ๆ จัดให้นั่งเรียงกันขึ้นเป็นตัวอักษร อสช (อักษรย่อ โรงเรียนอัสสัมชัญ) แล้วจึงให้พวกแต่งยุวชนทหารเข้านั่งในที่ว่างให้เต็มจึงทำให้ออกมาเป็นตัวอักษร อสช ขึ้นมา

ในเวลาต่อมา ก็ยังไม่มีโรงเรียนอื่นจัดทำเรื่องการแปรอักษร เมื่อเครื่องแบบนักเรียนเปลี่ยนไปเป็นสีขาว กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน การแปรอักษรจึงจัดโดยการให้นักเรียนที่นั่งเป็นตัวอักษรใส่เสื้อยืดสีแดงสน และได้เริ่มมีการแปรอักษรมากกว่า 1 ตัว โดยทำเป็นตัวอักษร AC และ อสช ปี พ.ศ. 2489 มีการแข่งขันชิงชนะเลิศฟุตบอลรุ่นกลางระหว่าง โรงเรียนอัสสัมชัญ กับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ตอนนั้นเสื้อยืดมีราคาแพงมาก โรงเรียนจึงได้จัดการแปรอักษรโดยใช้การใช้กระดาษสีแดงกลัดติดหน้าอกเสื้อนักเรียนนั่งเป็นตัวอักษร จึงทำให้ได้ตัวอักษรออกมาไม่สู้ชัดเจนนัก
วิวัฒนาการของการจัดตัวอักษรก้าวต่อไปอีก มาสเตอร์จัดให้มีการเคลื่อนไหวขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง โดยการแปรอักษร อสช และ ACCเมื่อใกล้จะจบการแข่งขัน ยังได้มีการนำผู้นั่งเป็นตัวอักษรทั้งหมดขึ้นไปยังอัฒจันทร์ชั้นสูงสุด ส่วนผู้ที่นั่งเป็นสีพื้นนั้นก็เคลื่อนที่เข้ามานั่งจนเต็ม เมื่อถึงเวลาที่ก่อนจะจบการแข่งขัน ก็จะขยับเลื่อนออกเป็นช่วงแล้วให้ผู้ใส่เสื้อที่เป็นตัวอักษร วิ่งลงมาในช่วงที่แยกออกนั้นเป็นตัวอักษร V(Victory) โดยนำมาจากสัญลักษณ์ชูสองนิ้วที่ วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษขณะนั้น ได้แสดงถึงชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาได้มีโรงเรียนอื่น ๆ เช่น โรงเรียนช่างกลปทุมวัน โรงเรียนศิริศาสตร์ ก็ได้จัดการแปรอักษรร่วมกัน
ปี พ.ศ. 2495 มีการแข่งขันชิงชนะเลิศฟุตบอลรุ่นเล็กระหว่างโรงเรียนอัสสัมชัญกับโรงเรียนช่างอากาศอำรุง มาสเตอร์ได้จัดการแปรอักษร โดยทำให้มีลักษณะเหมือนการเขียนตัวหนังสือ โดยให้นักเรียนที่นั่งเป็นตัวอักษรใส่เสื้อยืดสีแดง แต่เอาเสื้อนักเรียนสีขาวคลุมไว้ข้างนอก โดยปิดไม่ให้สีแดงลอดออกมา เทคนิคอยู่ที่การให้ใส่เสื้อสีขาวนั้นกลับจากหน้าไปหลัง ซึ่งนอกจากปิดได้มิดถึงคอแล้ว เวลาถอดเสื้อยังดึงออกได้ง่ายอีกด้วย เวลาเปิดตัวอักษร จะค่อย ๆ ถอดเสื้อข่าวออกไล่กันไปตามลักษณะการเขียนตัวอักษร ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนการเขียนตัวอักษรเลยทีเดียว
การแปรอักษรเป็นลักษณะที่มีรูปประกอบนอกเหนือไปจากตัวหนังสือเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2496 โดยการแข่งขันฟุตบอลชิงชนะเลิศรุ่นใหญ่ระหว่างโรงเรียนอัสสัมชัญกับโรงเรียนช่างกลปทุมวัน โดยโรงเรียนช่างกลฯ จัดเป็น รูปเกียร์ และมีอักษร ชก อยู่ตรงกลาง ขณะที่โรงเรียนอัสสัมชัญจัดเป็นตัวอักษรโดยให้มีการเคลื่อนไหวแบบเขียนอยู่เช่นเดิม และการแปรอักษรในระดับโรงเรียนคงรูปแบบเดิม ๆ ต่อมาอีกเป็นเวลานาน

หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาเรื่อยมาในการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี ตลอดจน งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ระยะแรกเป็นการแปรอักษรโดยใช้ผ้าสี มีการพัฒนาการแปรอักษรเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยใช้ร่ม หรือการปรบมือซึ่งโรงเรียนอัสสัมชัญ เป็นผู้ริเริ่มรูปแบบนี้ขึ้น ประกอบการร้องเพลงเชียร์หรือการนับ

การแปลอักษรจึงถือว่าเป็นกิจกรรมชนิดหนึ่งที่ยังคงอยู่คู่กับการแข่งขันกีฬาที่นายแสดงความคิดเห็นของนักเรียนนักศึกษาผู้จัดทำรวมถึงคนที่อยากให้ทำ เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวในอดีตที่ส่งต่อและพัฒนาเรื่อยมาไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตามที่การแปรอักษรแต่ละครั้งเกิดขึ้นสิ่งหนึ่งที่มันยืนยัน เสมอมาก็คือถ้าเด็กไทยจะทำอะไรก็ตามไม่ว่าจะโดยตั้งใจและแต่ถ้าให้เราทำแม้จะยาก เมื่อถึงมือเราทำได้

#theSTUDY

ขอบคุณที่มา:
วิกิพีเดีย
อัสสัมชัญ Museum
เดลินิวส์ ผู้จัดการออนไลน์ มติชน MGR ออนไลน์
21จุด 6ด้าน


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy