แชร์

เรียนแบบหมอ แต่ไม่ได้เป็นหมอ!? มาทำความรู้จัก "สาขามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์" กันเถอะ

อัพเดทล่าสุด: 27 ก.ค. 2024
802 ผู้เข้าชม

เรียนแบบหมอ แต่ไม่ได้เป็นหมอ!? มาทำความรู้จัก สาขามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ กันเถอะ


.
น้อง ๆ คนไหนลังเลระหว่างสายศิลป์กับสายวิทย์สุขภาพอยู่ไหม บางทีสาขานี้อาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจก็ได้นะ อย่างแรกที่ควรรู้เกี่ยวกับ สาขามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ คือ สาขานี้เป็นการผนวกรวมระหว่างศิลป์และวิทย์การแพทย์ได้อย่างกลมกล่อม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการทำสื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ไว้ใช้สำหรับการศึกษา การเรียนการสอน และเป็นสื่อองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์นั่นเอง
.
นอกจากนี้ สื่อประเภทหุ่นจำลองเพื่อเรียนรู้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ภาพเสมือนจริงของกายวิภาคมนุษย์ หรือสื่ออื่น ๆ ที่เป็นสื่อเคลื่อนไหว ภาพกราฟิกทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ ก็เป็นหนึ่งในการเรียนผลิตสื่อของสาขานี้เช่นกัน
.
แต่ขึ้นชื่อว่า สาขามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ แล้ว จะให้เรียนเฉพาะการผลิตสื่อแต่ละประเภทอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ดังนั้นสาขานี้จึงได้เรียนเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานทางการแพทย์ด้วย เช่น กายวิภาคศาสตร์ พยาธิวิทยา จุลชีววิทยา เพื่อให้มีความรู้ครบถ้วนเกี่ยวกับการแพทย์และจะได้ผลิตสื่อออกมาอย่างมีคุณภาพ ถูกต้อง และมีความน่าเชื่อถือ
.
ความจริงแล้วสาขานี้ไม่ต่างจากการเรียนนิเทศศาสตร์เท่าไหร่นัก เพียงแต่ต้องมีความรู้เฉพาะด้านเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และกายวิภาคมนุษย์เพิ่มเติมเข้ามาด้วย
.
แล้วจบไปทำอะไรดีล่ะ จะตกงานไหม? งั้นขอยกตัวอย่างชื่อที่ไม่ค่อยคุ้นหน่อยแล้วกัน นักเวชนิทัศน์ เป็นการผสมคำระหว่าง เวช ที่หมายถึงการแพทย์ และ นิทัศน์ ที่หมายถึงนิเทศหรือสื่อ โดยอาชีพนี้สามารถทำงานได้ทั้งโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานนิติวิทยาศาสตร์ด้วยนะ บางทีข้อมูลทางการแพทย์มันค่อนข้างยากที่จะเข้าใจ เมื่อมีนักเวชนิทัศน์มาช่วยสื่อสาร ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์จะกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายขึ้น
.
แล้วทุกวันนี้ จะหาคนที่มีความรู้เฉพาะด้าพร้อมชำนาญเรื่องการทำสื่อด้วยค่อนข้างยาก ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจทางการแพทย์และมีหัวศิลป์ ความคิดสร้างสรรค์ ชื่นชอบในการทำสื่อแล้วล่ะก็ ในประเทศไทยตอนนี้มีเปิดสาขาที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ (ทล.บ.) -  โครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาตส์และเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ (ทล.บ.) - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาเวชนิทัศน์ (วท.บ.) - คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
.
อ้อ! เรียนสาขาเหล่านี้ไม่ต้องจบพร้อมแพทย์นะ ถึงจะเป็นการทำสื่อเกี่ยวกับแพทย์ แต่เราเพียงแค่เรียนพื้นฐานเท่านั้น ส่วนคนที่จะจบหมอเพื่อรักษาคนไข้ยังต้องเรียน 6 ปีในคณะแพทย์อยู่น้า

.

ที่มา

Dek-D เรียนแพทย์ได้เป็นหมอ เรียนอะไรหนอได้เป็นนักเวชนิทัศน์? มาทำความรู้จัก สาขามีเดียทางการแพทย์ฯ กัน! และ มารู้จัก 5 สาขาวิชาใน คณะแพทยศาสตร์ ที่จบมาไม่ใช่หมอ แต่ยังอยู่ใน วงการแพทย์ EP.2

On-Demand ทำความรู้จักกับเวชนิทัศน์ หมอ+นิเทศ คณะนี้เรียนอะไรกันบ้าง!

-----

About the author: ฬ. Jula


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy