แชร์

"แม่ชีพม่า" การบวชเพื่อละทางโลกหรือเครื่องมือเปลี่ยนชะตาชีวิต

อัพเดทล่าสุด: 8 เม.ย. 2024
237 ผู้เข้าชม

ศาสนา ในยุคศตวรรษที่ 20 แทบจะเป็นสิ่งที่คนมองข้าม แต่บางพื้นที่ยังจำต้องใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือเพื่อเข้าถึง การศึกษา สิ่งซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรได้รับ
.
เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของประเทศเมียนมาร์อันยาวนานถึง 3 ปีและปัจจุบันยังคงดำเนินอยู่ เด็กสาวหลายคนจำเป็นต้องอยู่ภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อเป็นอีกหนึ่งหนทางในการเข้าถึงการศึกษาและสามารถทำตามความฝันของเธอเอง
.
แม้ภาพจำของการบวชเป็นแม่ชีคือหนทางสุดท้ายของหญิงสาวที่ไม่สามารถหาคู่ครองได้ กระนั้นหญิงสาวหลายคนกลับต้องการห่มอาภรณ์สีชมพูทับเหลืองแทนที่จะหาคู่ครองตามขนบ แสดงถึงการศึกษาที่ถูกปิดกั้นด้วยเพศสภาพและขนบธรรมเนียมดั้งเดิมที่มองว่าการมีคู่ครองเป็นจุดสูงสุดในชีวิต
.
การตกอยู่ในสภาวะจำยอมเช่นนี้ไม่ควรเกิดขึ้น เด็กสาวหลายคนล้วนต้องบวชชีแม้ตนไม่ได้มีใจฝักใฝ่ทางศาสนาแต่ทำเพียงเพื่อต้องการจะได้นำความรู้จากการเล่าเรียนไปเรียนต่อในสายอาชีพที่ตนต้องการ รวมถึงความรู้เหล่านั้นยังเพียงพอที่จะถีบตัวเองให้สามารถไปไกลจากที่อยู่เดิม
.
แม้ว่าศาสนาในปัจจุบันจะต้องพยายามปรับตัวเพื่อให้คนในสังคมยังนับถือและใช้เป็นที่พึ่งทางใจ แต่ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงเราอย่างเมียนมาร์ ศาสนา กลับเป็นสิ่งเดียวที่สามารถนำมาซึ่งการศึกษาและตัดภาระต่าง ๆ ในชีวิตของ ผู้หญิง ที่จะต้องมีตามขนบเดิมอย่างการดูแลพ่อแม่ แต่งงานออกเรือน และมีลูกออกไปได้
.
ที่มา

BBC News พุทธศาสนา : เด็กหญิงชนกลุ่มน้อย บวชชีหนีการสู้รบในเมียนมา

The 101 World 3 ปี พลวัตที่เปลี่ยนแปลงไปหลังรัฐประหารพม่า กับ ศิรดา เขมานิฏฐาไท

-----

About the author: ฬ. Jula


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy