อาชีพสุดท้าทาย มีรายได้มหาศาล: นักล่าพายุ
อัพเดทล่าสุด: 25 ก.ค. 2024
594 ผู้เข้าชม
หนึ่งในอาชีพที่ไม่คิดว่าจะมีอยู่ แต่กลับสร้างรายได้มหาศาล เพราะลักษณะการทำงานมีความเสี่ยงตายและท้าทายต่อชีวิต อาชีพนั้นคือ 'นักล่าพายุ (storm chaser)' นั่นเอง
หากดูจากชื่อ คงกำลังนั่งอึนอยู่ว่าคนเราจะมีอาชีพเพื่อตามล่าพายุที่เกิดขึ้นในธรรมชาติโดยเฉพาะไปทำไม แต่เพราะอาชีพนี้แหละที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพายุแต่ละลูก ทั้งความเร็ว ความรุนแรงที่สร้างความเสียหายของมัน รวมไปถึงสามารถมีวิธีรับมือ หากเกิดพายุขึ้นมาโดยที่ไม่ทันตั้งตัวได้
นักล่าพายุ มีหน้าที่หลัก ๆ คือ การติดตามพายุที่เกิดขึ้น เก็บข้อมูลโดยถ่ายภาพหรือวิดีโอเพื่อนำมาศึกษา และหาหนทางรับมือต่อไปในอนาคต การจะเป็นนักล่าพายุได้ ไม่ใช่แค่ว่าต้องการความท้าทายกับชีวิตและหลงใหลในความเร็วลมเท่านั้น ก่อนจะตามล่าพายุ ต้องได้รับการอบรมและรับรองจากสถาบัน National Weather Service เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับรัฐบาลของสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้ นักล่าพายุจึงจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการประเมินสภาพอากาศและการเคลื่อนที่ของพายุ รวมถึงต้องมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
การทำงานของพวกเขา ประกอบด้วยขั้นตอนและกิจกรรมดังนี้:
1. การวางแผนและการเตรียมตัว
การศึกษาและการติดตามสภาพอากาศ
นักล่าพายุเริ่มต้นด้วยการศึกษาสภาพอากาศและพยากรณ์อากาศจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น เรดาร์อากาศ, ภาพดาวเทียม, และการพยากรณ์จากศูนย์พยากรณ์อากาศ
การเตรียมอุปกรณ์
การเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น กล้องถ่ายรูป, วิดีโอ, อุปกรณ์ GPS, เครื่องมือสื่อสาร และอุปกรณ์ความปลอดภัย
2.การเดินทางและการติดตามพายุ
การเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดพายุ
เมื่อนักล่าพายุตรวจสอบสภาพอากาศและพบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดพายุในพื้นที่หนึ่ง พวกเขาจะเดินทางไปยังพื้นที่นั้น
การติดตามและการสังเกต
นักล่าพายุจะใช้เรดาร์และแผนที่ GPS เพื่อช่วยในการติดตามพายุและประเมินทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุ
3.การเก็บข้อมูลและการบันทึกภาพ
การบันทึกภาพและวิดีโอ
นักล่าพายุถ่ายภาพและวิดีโอของพายุเพื่อใช้ในการศึกษาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณะ
การเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
นักล่าพายุที่เป็นนักวิทยาศาสตร์จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น ความเร็วลม, ความกดอากาศ, และอุณหภูมิ เพื่อใช้ในการวิจัย
4.การประเมินและการรายงาน
การประเมินความปลอดภัย
นักล่าพายุต้องมีการประเมินความปลอดภัยอยู่เสมอเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากพายุ
การรายงานสภาพอากาศ
นักล่าพายุบางครั้งรายงานสภาพอากาศที่พบให้กับศูนย์พยากรณ์อากาศหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยในการเตือนภัยประชาชน
5.การวิเคราะห์และการเผยแพร่ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
นักล่าพายุจะวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บมาเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับพายุและการก่อตัวของมัน
การเผยแพร่ข้อมูล
นักล่าพายุอาจเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อสังคม, เว็บไซต์, บล็อก, หรือผ่านทางสถาบันวิจัยเพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เมื่อเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ที่มาที่ไป ผลกระทบอาจเกิดขึ้นรุนแรงกว่าในกรณีที่เรามีความรู้ที่จะรับมือมัน อาชีพนักล่าพายุ จึงถือว่าเป็นการศึกษาที่เสี่ยงตายทว่ากลับมีความสำคัญต่อมนุษยชาติเป็นอย่างมาก ถึงพายุทั้งหลายที่ก่อตัวขึ้นอย่างเฮอริเคนหรือเทอร์นาโดมักไม่เกิดในประเทศไทย แต่ความรู้ที่นักล่าพายุได้ศึกษา ไม่ว่าจะป็นความเร็วลม จุดหมุน สาเหตุของการก่อตัว ก็ถูกดัดแปลงให้กลายมาเป็นเครื่องเล่นสุดหวาดเสียวในสวนสนุกตามที่ได้เห็นกันนั่นเอง
หากใครที่สนใจอาชีพนี้ ภาพยนตร์เรื่อง Twister ที่เพิ่งเข้าโรงฉายไปไม่กี่วันก่อนหน้าก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการตามล่าพายุเช่นกัน ถ้าใครได้ไปดูแล้ว อย่าเพิ่งเอามาสปอยล์กันนะ เราจะหาเวลาว่างไปดูบ้าง~
---
About the author: ฬ. Jula
หากดูจากชื่อ คงกำลังนั่งอึนอยู่ว่าคนเราจะมีอาชีพเพื่อตามล่าพายุที่เกิดขึ้นในธรรมชาติโดยเฉพาะไปทำไม แต่เพราะอาชีพนี้แหละที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพายุแต่ละลูก ทั้งความเร็ว ความรุนแรงที่สร้างความเสียหายของมัน รวมไปถึงสามารถมีวิธีรับมือ หากเกิดพายุขึ้นมาโดยที่ไม่ทันตั้งตัวได้
นักล่าพายุ มีหน้าที่หลัก ๆ คือ การติดตามพายุที่เกิดขึ้น เก็บข้อมูลโดยถ่ายภาพหรือวิดีโอเพื่อนำมาศึกษา และหาหนทางรับมือต่อไปในอนาคต การจะเป็นนักล่าพายุได้ ไม่ใช่แค่ว่าต้องการความท้าทายกับชีวิตและหลงใหลในความเร็วลมเท่านั้น ก่อนจะตามล่าพายุ ต้องได้รับการอบรมและรับรองจากสถาบัน National Weather Service เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับรัฐบาลของสหรัฐฯ ด้วยเหตุนี้ นักล่าพายุจึงจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการประเมินสภาพอากาศและการเคลื่อนที่ของพายุ รวมถึงต้องมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
การทำงานของพวกเขา ประกอบด้วยขั้นตอนและกิจกรรมดังนี้:
1. การวางแผนและการเตรียมตัว
การศึกษาและการติดตามสภาพอากาศ
นักล่าพายุเริ่มต้นด้วยการศึกษาสภาพอากาศและพยากรณ์อากาศจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น เรดาร์อากาศ, ภาพดาวเทียม, และการพยากรณ์จากศูนย์พยากรณ์อากาศ
การเตรียมอุปกรณ์
การเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น กล้องถ่ายรูป, วิดีโอ, อุปกรณ์ GPS, เครื่องมือสื่อสาร และอุปกรณ์ความปลอดภัย
2.การเดินทางและการติดตามพายุ
การเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดพายุ
เมื่อนักล่าพายุตรวจสอบสภาพอากาศและพบว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดพายุในพื้นที่หนึ่ง พวกเขาจะเดินทางไปยังพื้นที่นั้น
การติดตามและการสังเกต
นักล่าพายุจะใช้เรดาร์และแผนที่ GPS เพื่อช่วยในการติดตามพายุและประเมินทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุ
3.การเก็บข้อมูลและการบันทึกภาพ
การบันทึกภาพและวิดีโอ
นักล่าพายุถ่ายภาพและวิดีโอของพายุเพื่อใช้ในการศึกษาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณะ
การเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
นักล่าพายุที่เป็นนักวิทยาศาสตร์จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น ความเร็วลม, ความกดอากาศ, และอุณหภูมิ เพื่อใช้ในการวิจัย
4.การประเมินและการรายงาน
การประเมินความปลอดภัย
นักล่าพายุต้องมีการประเมินความปลอดภัยอยู่เสมอเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากพายุ
การรายงานสภาพอากาศ
นักล่าพายุบางครั้งรายงานสภาพอากาศที่พบให้กับศูนย์พยากรณ์อากาศหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยในการเตือนภัยประชาชน
5.การวิเคราะห์และการเผยแพร่ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
นักล่าพายุจะวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บมาเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับพายุและการก่อตัวของมัน
การเผยแพร่ข้อมูล
นักล่าพายุอาจเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อสังคม, เว็บไซต์, บล็อก, หรือผ่านทางสถาบันวิจัยเพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เมื่อเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ที่มาที่ไป ผลกระทบอาจเกิดขึ้นรุนแรงกว่าในกรณีที่เรามีความรู้ที่จะรับมือมัน อาชีพนักล่าพายุ จึงถือว่าเป็นการศึกษาที่เสี่ยงตายทว่ากลับมีความสำคัญต่อมนุษยชาติเป็นอย่างมาก ถึงพายุทั้งหลายที่ก่อตัวขึ้นอย่างเฮอริเคนหรือเทอร์นาโดมักไม่เกิดในประเทศไทย แต่ความรู้ที่นักล่าพายุได้ศึกษา ไม่ว่าจะป็นความเร็วลม จุดหมุน สาเหตุของการก่อตัว ก็ถูกดัดแปลงให้กลายมาเป็นเครื่องเล่นสุดหวาดเสียวในสวนสนุกตามที่ได้เห็นกันนั่นเอง
หากใครที่สนใจอาชีพนี้ ภาพยนตร์เรื่อง Twister ที่เพิ่งเข้าโรงฉายไปไม่กี่วันก่อนหน้าก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการตามล่าพายุเช่นกัน ถ้าใครได้ไปดูแล้ว อย่าเพิ่งเอามาสปอยล์กันนะ เราจะหาเวลาว่างไปดูบ้าง~
---
About the author: ฬ. Jula
บทความที่เกี่ยวข้อง