4 เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในประวัติศาสตร์ที่รุนแรงที่สุดต่อมนุษยชาติ
ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คำนี้ ถ้าพวกแกได้อ่านคำนี้คงรู้สึกว่าเรื่องราวในคำนี้ต้องหดหู่น่าดู ทำไมเราถึงต้องฆ่ากัน ทำไมเราถึงไม่เข้าใจกันหรือทำไมต้องทะเลาะกัน ซึ่งในปัจจุบัน ทางออกของเรื่องราวเบาะแว้งพวกนี้สามารถแก้ได้หลายวิธี อยู่ที่ว่าแต่ละคนจะหาทางออกความบาดหมางที่เกิดขึ้นในแบบไหน ซึ่งแอดจะมาสรุปเรื่องราวจากYOUTUBEช่องหนึ่งที่เล่า4เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อมนุษยชาติ ถึงแม้เรื่องราวนี้จะจางหายไปแล้ว แต่มันจะยังคงติดอยู่ในใจคนมาถึงปัจจุบัน
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ปี 1933 ชาวยิวกว่า9ล้านคนที่อาศัยอยู่ในหลายประเทศของทวีปยุโรป ซึ่งมีบางประเทศไม่ยอมรับชาวยิวเพราะคิดว่าชาวยิวเป็นสาเหตุของการสิ้นประชนม์ของพระเยซู และมองว่าชาวยิวเป็นผู้นำโรคระบาดและนำมาสู่การอาชญากรรมภายในประเทศ ในปี 1920 อดอฟ ฮิตเลอร์ พูดว่าชาวยิวทำให้ เศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่1พังทลายลง และพูดว่าจะเอาเอกราชของเยอรมันคืนมา หลังจากพอลวอนฮินเดนเบิร์กประธานาธิบดีสมัยนั้นเสียชีวิต ทำให้พรรคนาซีใช้กฎหมายแบ่งชาวยิวออกจากเยอรมัน ให้ไปอยู่ในชุมชนแออัด และได้สังหารกลุ่มที่ไม่ใช่พวกเดียวกับนาซีกว่าครึ่งล้านและให้ไปอยู่ค่ายกักกันมรณะและฆ่าหลังจากใช้งานเสร็จ ในปี1944-1945ช่วงที่สงครามโลกครั้งที่2ใกล้สำเร็จ ได้มีฝ่ายสัมพันธมิตรได้เอาหลักฐานส่วนที่เหลือมาประกอบการพิจารณาคดี จนถึงทุกวัน 27มกราคมของทุกปี จะเป็นวันรำลึกเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สากล
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาของชาวเขมรแดง
แอดว่าเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่ซับซ้อนและน่าหดหู่มาก เริ่มต้นจากการที่เจ้านโรดม สีหนุ ทำรัฐประหารในปี 1952 และแต่งตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี นักศึกษากัมพูชาที่อยู่ในปารีสไม่พอใจอย่างมาก หนึ่งในนั้นคือ พล พต ซึ่งเข้าร่วมกับกลุ่มกองโจรคอมมิวนิสต์และก่อตั้งพรรคประชาชนในปี1955แต่ก็พ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับเจ้านโรดม สีหนุ ต่อมาในปี 1966 พล พตได้ไปเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีคอมมิวนิสต์ที่ประเทศจีนและนำกลับมาใช้ในกัมพูชา ซึ่งในขณะเดียวกัน นายพลลอนนอลก็ได้มาเป็นนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา เขาถูกมองว่าเป็นคนโหดร้ายเพราะมีผู้เสียชีวิตจากการคลั่งอำนาจของเขาเป็นจำนวนมากและทำให้ผู้คนหันไปสนับสนุนฝ่ายเขมรคอมมิวนิสต์ที่พล พตเป็นผู้นำ ในปี 1975 ฝ่ายเขมรแดงชนะสงครามและยึดพนมเปญได้สำเร็จ พวกเขากวาดต้อนคนออกจากเมืองโดยอ้างว่าเพื่อหลบระเบิดจากอเมริกา แต่ที่จริงคือเพื่อสร้างประเทศเกษตรในอุดมคติ เหยื่อส่วนใหญ่คือคนที่มีการศึกษาและชนชั้นสูง คนที่ต้อนมาก็จะถูกบังคับให้ทำงานในไร่นา แต่เพราะขาดประสบการณ์ ผลผลิตเลยล้มเหลว หลายคนถูกทรมานและสังหารในทุ่งสังหาร ปี 1998 พล พตเสียชีวิต และในปี 1999 เขมรแดงก็สิ้นสุดลง ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่ามีผู้เสียชีวิตกี่คน แต่คาดว่าน่าจะมีอย่างน้อย 1.7 ล้านคนหรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรชาวกัมพูชา นายเขียวสัมพันธ์และนวลเจียที่เป็นเบื้องหลังของเรื่องราวนี้ก็ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2014
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ Tutsi ในรวันดา
รวันดาเป็นประเทศเล็กๆในทวีปแอฟริกา มีประชากรแบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลักๆ คือ ชาวทุตซีซึ่งมีจมูกโด่งและมีประมาณ 15% ของประชากรทั้งหมด และชาวฮูตูซึ่งเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 84% ช่วงที่เบลเยียมครอบครองรวันดาในต้นศตวรรษที่ 20 ได้สนับสนุนให้ชาวทุตซีขึ้นมาปกครองประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำกับชาวฮูตู หลังจากนั้น ชาวฮูตูที่มีจำนวนมากกว่าได้เริ่มทำการล้มล้างการปกครองของกลุ่มทุตซี ทำให้ชาวทุตซีหลายหมื่นคนต้องอพยพไปยังประเทศใกล้เคียงและรวมตัวกันเป็นกลุ่มแนวร่วมผู้รักชาติรวันดาหรือRPFเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลฮูตู การต่อสู้ระหว่างทั้งสองกลุ่มยาวนานถึง3ปี จนมีการเสนอข้อตกลงยุติการต่อสู้ในสนธิสัญญาอารูชาปี1993 แต่ข้อตกลงนี้ยังไม่ทันได้บังคับใช้ ประธานาธิบดีจูเวนัล ฮาบยาริมานาของฮูตูก็ถูกลอบสังหารจากเหตุการณ์เครื่องบินตก เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวฮูตูโกรธแค้นและพุ่งเป้าไปที่ชาวทุตซีว่าพวกเขาคือผู้สังหารผู้นำของตน ชาวทุตซีถูกเข่นฆ่าอย่างหนักในปี1994การกระทำโหดร้ายนี้ดำเนินไปเพียง100วัน แต่มีผู้เสียชีวิตถึง800,000ราย มีผู้หญิงกว่า200,000รายต้องทุกข์ทรมานก่อนที่จะโดนสังหาร จนกระทั่งกลุ่มRPFของชาวทุตซียึดพื้นที่ในรวันดาได้สำเร็จ ชาวฮูตูทั้งหมดต้องอพยพไปยังประเทศคองโกที่อยู่ข้างเคียงเพื่อหลบหนีการแก้แค้น
แม้ว่าสงครามยังดำเนินต่อไปเนื่องจากชาวฮูตูได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจในคองโก ความขัดแย้งยืดเยื้อมาจนถึงปี 2001 หลังจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา ผู้กระทำผิดกว่าแสนรายถูกนำตัวไปเข้าระบบศาลชุมชนกาชาชาซึ่งมีหลักการให้ผู้กระทำผิดเผชิญหน้ากับเหยื่อเพื่อขออภัยโทษ แต่การกระทำโหดร้ายนี้ยังคงฝังลึกในความทรงจำของชาวทุตซี เนื่องจากหลายสิ่งที่สูญเสียไปไม่สามารถหวนคืนกลับมาได้อีก
การฆ่าล้างเผาพันธุ์มุสลิมในบอสเนีย
บอสเนียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และศาสนา เนื่องจากตั้งอยู่ระหว่างโครเอเชียกับเซอร์เบีย ก่อนปี 1990 ทั้งสามประเทศไม่เคยมีข้อขัดแย้งกัน แต่เมื่อชาวบอสเนียเชื้อสายเซิร์ฟต้องการตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้นที่เมืองเซอร์เบิร์น ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในปี 1995 นายพลรัสโก้มาลาดและกองทัพของชาวบอสเนียเชื้อสายเซิร์ฟบุกเข้ายึดเมืองเซนิก้า เผาบ้านเมืองและก่อการจลาจล ทำให้ชาวบอสเนียราว50,000คนต้องอพยพไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ไม่กี่วันต่อมากองทัพเซิร์ฟก็สามารถยึดศาลากลางของเมืองได้ ทำให้เมืองเซนิก้ากลายเป็นที่ที่มีความรุนแรงและความโหดร้ายเกิดขึ้นมากมาย มีการทรมานและสังหารชาวบอสเนียไปประมาณ8,000รายในระยะเวลาเพียงแค่ 10 วัน (ทุกคนคิดดู แค่10วันเสียไปตั้ง8,000รายเลยนะ) ชาวบอสเนียที่เหลือรอดต้องอพยพไปที่เขตคุ้มครองของทหารสหประชาชาติหรือประเทศในอดีตยูโกสลาเวีย ปัจจุบันเมืองเซนิก้าเงียบสงัดคล้ายเมืองร้าง มีชาวบอสเนียเหลืออยู่เพียงไม่กี่ร้อยคน และยังคงมีความทุกข์และความหวาดกลัวในจิตใจ
เหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่สรุปมาทั้ง4เหตุการณ์ได้กลายเป็นตัวอย่างที่สะท้อนถึงความโหดร้ายและ
ผลกระทบที่ร้ายแรงจากความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และศาสนาในประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างเพียงเล็กน้อยสามารถนำไปสู่การกระทำที่โหดร้ายและความสูญเสียที่ไม่สามารถทดแทนได้ พวกเราควรระลึกถึงเหตุการณ์เหล่านี้เพื่อให้เห็นความสำคัญของการปกป้องสิทธิมนุษยชน ส่งต่อความเข้าใจที่ถูกและการยอมรับในความแตกต่าง ป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต สันติภาพและความสามัคคีเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อให้โลกนี้เป็นที่ที่ดีกว่าเดิมสำหรับทุกคนนะสาววววว
_ _ _ _ _ _ _ _ _
ที่มา : YOUTUBE : Abdulthaitube - อับดุลย์เอ๊ย ถามไรตอบได้!
4 เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมรุนแรงที่สุดต่อมนุษยชาติ
About the author : ( น้องจีน )