แชร์

กับดัก 'ความกตัญญู'

อัพเดทล่าสุด: 10 ส.ค. 2024
260 ผู้เข้าชม

ความกตัญญูเป็นคุณธรรมที่สำคัญในวัฒนธรรมไทย ได้รับการส่งเสริมและยกย่องมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในบริบทของพุทธศาสนา ความกตัญญูถูกมองว่าเป็นเครื่องหมายของความเป็นคนดี แต่ในบางครั้ง ความกตัญญูก็สามารถกลายเป็นกับดักที่กักขังบุคคลให้อยู่ในสภาวะอมทุกข์ ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเต็มที่เพียงเพราะต้องทำตามคำนิยามการกระทำของความกตัญญู

ในทางพุทธศาสนา ความกตัญญูหมายถึงความสำนึกในบุญคุณที่ผู้อื่นมีต่อเราและการตอบแทนบุญคุณนั้น ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ หรือผู้ที่ให้ความช่วยเหลือเราในช่วงเวลาที่ลำบาก หากไม่ได้ตอบแทนของผู้ที่เคยช่วยเหลือเราในยามยาก จะถือว่าเป็นคนไม่รู้คุณและไร้ซึ่งความกตัญญู

กรณีที่ได้มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับความกตัญญูคือ บางคนไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ต้องเก็บรายได้ของตนเอาไว้เพื่อส่งคืนให้แก่ผู้ที่เลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เล็ก ๆ ชดใช้เท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ หนำซ้ำยังพาให้ชีวิตเดือดร้อนไปด้วยอีก ทว่ากลับไม่กล้าที่จะตีตัวออกหากมาได้เพราะติดกับดักคำว่ากตัญญูอยู่นั่นเอง

นอกจากนี้ ความกตัญญูที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเรียกร้องเอาคืนมากเกินไป ยังสามารถทำให้บุคคลรู้สึกว่าตนเองต้องทำทุกอย่างเพื่อตอบแทนบุญคุณ จนลืมที่จะดูแลตนเองหรือพัฒนาความสามารถของตนเอง บางครั้งการยึดติดกับความกตัญญูอาจทำให้รู้สึกผิดเมื่อไม่สามารถทำตามความคาดหวังของผู้อื่นได้

การหลีกเลี่ยงกับดักความกตัญญูนั้นจำเป็นต้องมีการสร้างสมดุลระหว่างการแสดงความกตัญญูและการนึกถึงจิตใจตนเอง พุทธศาสนาสอนให้เราแสดงความกตัญญูอย่างพอเหมาะพอควรและไม่ยึดติดกับความคาดหวังที่มาจจากบุคคลอื่นมากเกินไป และเหตุผลที่คนเรายังไม่สามารถออกจากวงเวียนการชดใช้คืนได้อย่างสมบูรณ์ เพราะความกังวลว่าจะเป็นขี้ปากชาวบ้าน เช่นประโยคที่ว่า ลูกบ้านนี้ไม่เห็นกลับมาหาพ่อแม่บ้างเลย เงินเดือนก็ไม่ส่งมาให้ เป็นคนอกตัญญูจริง ๆ

อย่างไรก็ตาม หากสามารถที่จะเลือกทำตามความสบายใจของตนเอง ไม่แสดงความกตัญญูมากเกินไปจนทำให้ชีวิตเดือดร้อน ชีวิตอาจมีความสุขและยังความสามารถจะสามารถช่วยเหลือและตอบแทนผู้อื่นได้ดีมากขึ้นกว่าการจมอยู่กับความผิดหวังที่ไม่สามารถแสดงความกตัญญูอย่างที่ผู้มีพระคุณร้องขอ

แม้ความกตัญญูจะเป็นคุณธรรมที่สำคัญในวัฒนธรรมไทยและพุทธศาสนา แต่ก็ต้องระวังไม่ให้กลายเป็นกับดักที่กักขังบุคคลให้อยู่ในสภาวะของความทุกข์ยากและสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง

เพราะฉะนั้น การสร้างสมดุลระหว่างการแสดงความกตัญญูและการดูแลตนเอง นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิต หากเรามีความสุข เราก็สามารถตอบแทนผู้อื่นได้เต็มที่ คนให้ก็รู้สึกดี คนตอบแทนก็ยินดีที่จะทำแบบนั้น การตอบแทนคุณกันและกันมันควรจะเป็นไปด้วยความสมัครใจมากกว่าการบังคับและการกล่าวร้ายแก่กัน

ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า การตอบแทนต่อผู้ปกครองที่ชุบเลี้ยงเรามาเป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำ เพราะการกระทำดีตอบกลับผู้ที่เสียสละให้แก่เรา คือการตอบแทนเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการรับและส่งมอบความรู้สึกดี ๆ กับผู้ให้อย่างเหมาะสมที่สุดแล้ว เพียงแต่อยากให้คำนึงถึงคำว่า กับดักความกตัญญู ให้มากขึ้นหน่อย หากเราไม่มีสิ่งตอบแทนในวันนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเร่งขวนขวายหามาให้ แต่ในวันข้างหน้า หากเรามีสิ่งตอบแทนได้เมื่อไหร่ ผู้ที่เคยมอบให้แก่เราย่อมพร้อมรับด้วยความเต็มใจอย่างแน่นอน
---
About the author: ฬ. Jula


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy