ประกาศแล้ววันนี้!!! รายละเอียด กสพท 68
อัพเดทล่าสุด: 20 ส.ค. 2024
708 ผู้เข้าชม
วันที่ 20 สิงหาคม 2567 ทาง กสพท ได้แถลงข่าวการรับสมัคร กสพท ประจำปี 2568 โดยมีการแถลงประเด็นต่างๆ เช่น คุณสมบัติของผู้สมัคร, รายชื่อของมหาวิทยาลัย/สถาบัน, เกณฑ์การคัดเลือก, และกำหนดการต่างๆ
ประเด็นสำคัญ- เปิดรับสมัครกว่า 69 มหาวิทยาลัย/สถาบัน รวม 2,333 ที่นั่ง
- ทุกสาขาวิชาสามารถยื่นสมัครได้ทุกแผนการเรียน
- ค่าสมัครสอบวิชาเฉพาะ 800 บาท โดยผ่านช่องทางต่างๆ ของธ.ไทยพาณิชย์ เท่านั้น
- สถาบันที่เข้าร่วม กสพท เพิ่มเติม 2 สถาบัน ได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง และคณะเภสัชศาสตร์ ม.เวสเทิร์น
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ปรับลดจำนวนรับลงจากปี 67 จาก 192 ที่นั่ง เป็น 152 ที่นั่ง
- สมัครสอบ TPAT1 : 1 - 20 กันยายน 2567
- วันสอบ TPAT1 : 14 ธันวาคม 2567
- เพิ่มสนามสอบในกรุงเทพฯ อีก 1 สนาม คือ "มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"
- เลือกสนามสอบได้ 2 อันดับ
- เปลี่ยนชื่อเว็บไซต์การรับสมัครเป็น https://cotmesadmission.com/
- หากยืนยันสิทธิ์ 4 สาขาวิชานี้ ในรอบ Portfolio/ Quota แล้ว จะไม่สามารถยื่นสมัครสาขาวิชาเดิมในรอบถัดไป หรือ Admission ได้อีก แม้ว่าจะสละสิทธิ์แล้ว
- เช็กสถานะการสมัคร และสถานะเอกสาร หลังชำระเงิน 7 วันทำการ
- จัดสอบแบบกระดาษเท่านั้น
รายชื่อคณะที่เปิดรับสมัคร
- ม.ขอนแก่น 20 ที่นั่ง
- จุฬาฯ 176 ที่นั่ง
- จุฬาฯ - กองทัพอากาศ 30 ที่นั่ง
- ม.เชียงใหม่ 24 ที่นั่ง
- ม.ธรรมศาสตร์ 65 ที่นั่ง
- ม.นเรศวร 35 ที่นั่ง
- ม.มหิดล - รพ.รามาธิบดี 90 ที่นั่ง
- ม.มหิดล - ศิริราชพยาบาล 152 ที่นั่ง
- ม.รังสิต รพ.ราชวิถี (เอกชน) 50 ที่นั่ง
- ม.รังสิต รพ.เลิดสิน (เอกชน) 15 ที่นั่ง
- ม.รังสิต รพ.นพรัตนราชธานี (เอกชน) 15 ที่นั่ง
- มศว 140 ที่นั่ง
- ม.สงขลานครินทร์ 40 ที่นั่ง
- ม.นวมินทราธิราช - วชิรพยาบาล 50 ที่นั่ง
- ม.นวมินทราธิราช - วชิรพยาบาล - รพ.ตากสิน 20 ที่นั่ง
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (ชาย) 65 ที่นั่ง
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (หญิง) 45 ที่นั่ง
- ม.เทคโนโลยีสุรนารี 12 ที่นั่ง
- ม.บูรพา 50 ที่นั่ง
- ม.แม่ฟ้าหลวง 16 ที่นั่ง
- ม.สยาม (เอกชน) 20 ที่นั่ง
- ม.เวสเทิร์น (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 14 ที่นั่ง
- ม.เกษตรศาสตร์ 21 ที่นั่ง
- จุฬาฯ 54 ที่นั่ง
- ม.มหิดล 80 ที่นั่ง
- ม.เชียงใหม่ 15ที่นั่ง
- ม.สงขลานครินทร์ 10 ที่นั่ง
- มศว 30 ที่นั่ง
- ม.ขอนแก่น 10 ที่นั่ง
- ม.ธรรมศาสตร์ 30ที่นั่ง
- ม.นเรศวร 45 ที่นั่ง
- ม.เทคโนโลยีสุรนารี 10 ที่นั่ง
- ม.เนชั่น (เอกชน) 15 ที่นั่ง
- ม.เวสเทิร์น (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- ม.รังสิต (เอกชน) 60 ที่นั่ง
- ม.กรุงเทพธนบุรี (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- ม.สยาม (เอกชน) 30 ที่นั่ง
- ม.แม่ฟ้าหลวง 22 ที่นึ่ง
- จุฬาฯ 105 ที่นั่ง
- ม.เกษตรศาสตร์ 35 ที่นั่ง
- ม.ขอนแก่น 12 ที่นั่ง
- ม.เชียงใหม่ 10 ที่นั่ง
- ม.มหิดล 45 ที่นั่ง
- ม.เทคโนโลยีมหานคร (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- ม.มหาสารคาม 10 ที่นั่ง
- มทร.ตะวันออก 15 ที่นั่ง
- มทร.ศรีวิชัย 10 ที่นั่ง
- ม.สงขลานครินทร์ 10 ที่นั่ง
- ม.เวสเทิร์น (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- จุฬาฯ - สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม 67 ที่นั่ง
- จุฬาฯ - สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ 78 ที่นั่ง
- ม.มหิดล 50 ที่นั่ง
- ม.เชียงใหม่ 60 ที่นั่ง
- มศว - สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม 20 ที่นั่ง
- มศว - สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ 20 ที่นั่ง
- ม.ธรรมศาสตร์ 30 ที่นั่ง
- ม.มหาสารคาม - สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม 10 ที่นั่ง
- ม.บูรพา 10 ที่นั่ง
- ม.สยาม - สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (เอกชน) 20 ที่นั่ง
- ม.พายัพ - สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม 10 ที่นั่ง
- ม.อุบลราชธานี - สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม 10 ที่นั่ง
- ม.อุบลราชธานี - สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ 10 ที่นั่ง
- ม.สงขลานครินทร์ - สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ 10 ที่นั่ง
- ม.สงขลานครินทร์ - สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม 10 ที่นั่ง
- ม.ขอนแก่น 10 ที่นั่ง
- ม.ศิลปากร 10 ที่นั่ง
- ม.เวสเทิร์น (เอกชน) 10 ที่นั่ง
- สัญชาติไทย
- อยู่ ม.6/ เด็กซิ่ว/ เทียบเท่า/ จบ ป.ตรี แล้ว
- สมัครได้ทุกแผนการเรียน
- กรณีเด็กซิ่ว ชั้นปี 1 ทุกหลักสูตร สามารถสมัครได้โดยไม่ต้องลาออก ยกเว้นการซิ่วจาก ม.รัฐ เข้าคณะเดิม จำเป็นต้องลาออกก่อนวันที่ 25 เมษายน 2568
- แพทยศาสตรบัณฑิต ซิ่วเข้าหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
- ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ซิ่วเข้าหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
- เภสัชแพทยศาสตรบัณฑิต ซิ่วเข้าหลักสูตรเภสัชแพทยศาสตรบัณฑิต
- สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ซิ่วเข้าสัตวแพทยศาสตร์
- กรณีเด็กซิ่ว ชั้นปี 1 ขึ้นไป ต้องลาออกก่อนวันที่ 10 กันยายน 2567
- เด็กซิ่วที่ลงทะเบียนเรียนปี 2 แล้ว หรือมีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาบังคับปี 2 แม้จะลาพักหรือได้รับการอนุมัติให้ลาพักแล้ว
- กรณีเด็กซิ่ว ที่อยู่ปี 4 โดยคาดว่าจะเรียนจบในปีการศึกษา 2567 ไม่ต้องลาออก
- กรณีเด็กซิ่ว จาก ม.เอกชน ไม่ว่าจะเรียนชั้นปีไหน สามารถสมัครได้เลย ไม่ต้องลาออก แม้จะซิ่วเข้าหลักสูตรเดิม
- หลักสูตรแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อเป็นนักเรียนแพทย์ทหารหรือนักศึกษาแพทย์ ของทางสถาบัน ที่ www.pcm.ac.th
- คะแนนวิชา TPAT1 30%
- คะแนน A-Level 7 วิชา 70%
- วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) 40% คะแนนไม่ต่ำกว่า 30% หรือ 90 คะแนน
- คณิตศาสตร์ 1 20% คะแนนไม่ต่ำกว่า 30% หรือ 30 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ 20% คะแนนไม่ต่ำกว่า 30% หรือ 30 คะแนน
- ภาษาไทย 10% คะแนนไม่ต่ำกว่า 30% หรือ 30 คะแนน
- สังคมศึกษา 10% คะแนนไม่ต่ำกว่า 30% หรือ 30 คะแนน
- จ.กรุงเทพมหานคร
- จ.เชียงใหม่
- จ.ขอนแก่น
- จ.สงขลา
- จ.พิษณุโลก
- จ.อุบลราชธานี
- จ.ชลบุรี
- จ.นครราชสีมา
- จ.นครนายก
- จ.นครศรีธรรมราช
- จ.มหาสารคาม
- รับสมัคร TPAT1 : 1 - 20 กันยายน 2567
- ชำระเงินค่าสมัคร : 23 กันยายน 2567 ภายใน 23.00 น.
- ตรวจสอบสถานะการชำระเงิน/ แก้ไขกรณีเอกสารไม่สมบูรณ์ : 30 กันยายน 2567 ภายใน 16.00 น.
- ยื่นอุทธรณ์เรื่องเอกสารการสมัคร : 1 - 2 ตุลาคม 2567 ภายใน 16.00 น.
- พิมพ์บัตรประจำตัวเข้าสอบ (กสพท 11) : 1 - 14 ธันวาคม 2567
- สอบวิชา TPAT1 : 14 ธันวาคม 2567 เวลา 8.30 - 12.30 น. โดยจะมีการตรวจสอบบัตรประชาชนตัวจริง และบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ
- สมัคร A-Level 7 วิชา : 28 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ 2568
- ประกาศคะแนนสอบวิชา TPAT1 : 3 กุมภาพันธ์ 2568
- ยื่นคำร้องทบทวนคะแนน TPAT1 : 5 - 7 กุมภาพันธ์ 2568 ภายใน 12.00 น.
- สอบ A-Level : 8 - 9 มีนาคม 2568
- ยื่นสมัครรอบ 3 Admission และชำระเงินผ่านระบบ TCAS68 : 6 - 12 พฤษภาคม 2568
- ทปอ. ประกาศผลการคัดเลือกครั้งที่ 1 : 20 พฤษภาคม 2568
- ยืนยันสิทธิ์ mytcas : 20 - 21 พฤษภาคม 2567
- ทปอ. ประกาศผลการคัดเลือกครั้งที่ 2 : 25 พฤษภาคม 2568
- สอบสัมภาษณ์/ ตรวจสุขภาพ : 28 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน 2568 โดยจะขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบัน
บทความที่เกี่ยวข้อง