สมศ. ประเมินปี 67 เสร็จสิ้น ภาพรวมผลการประเมินสถานศึกษา น่าพอใจ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกว่า 90% พบแบบอย่างที่ดีมากกว่า 100 ตัวอย่าง
กรุงเทพฯ 1 ตุลาคม 2567 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือ สมศ. เผยการประเมินคุณภาพภายนอกในรอบปี 2567 เสร็จสิ้นแล้วโดยมีสถานศึกษาเข้าร่วมการประเมินทั้งสิ้นกว่า 5,000 แห่งสูงกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้เกือบ 20% สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานต้นสังกัดและความมุ่งมั่นตั้งใจของสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพ ปลื้มผลการประเมินในภาพรวมน่าพอใจมีสถานศึกษาเป็นไปตามมาตรฐานกว่า 90% พบแบบอย่างที่ดีมากกว่า 100 ตัวอย่าง พร้อมชี้จุดเด่น ข้อค้นพบสำหรับการพัฒนาของสถานศึกษา
ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา กล่าวว่าขณะนี้การประเมินคุณภาพภายนอกประจำปีงบประมาณ 2567 ซึ่งทำการประเมินในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2567 ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วโดยสามารถประเมินคุณภาพภายนอกและรับรองผลให้แก่สถานศึกษาในระดับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (ศูนย์พัฒนาเด็ก) จำนวน 2,055 แห่งและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3,020 แห่ง สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษประเภทโรงเรียนนานาชาติ 20 แห่ง และด้านการอาชีวศึกษา จำนวน 44 แห่ง รวมทั้งสิ้น 5,139 แห่ง ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 939 แห่ง สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก ปี พ.ศ.2567-2571 นี้ สมศ.มุ่งเน้นประเมินเพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพ (Quality Improvement) จึงไม่มีการตัดสินผลว่าผ่านหรือไม่ผ่าน โดยมีหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก ดังนี้หากสถานศึกษามีผลการดำเนินงานในแต่ละมาตรฐานเป็นไปตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ถือว่าผลการประเมินคุณภาพภายนอก เป็นไปตามมาตรฐานแต่หากสถานศึกษามีผลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาผลการประเมินคุณภาพภายนอก ถือว่า อยู่ระหว่างการพัฒนาซึ่งภายหลังจากการประเมินคุณภาพภายนอกประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 พบว่าสถานศึกษาทั้ง 3 ระดับ มีข้อค้นพบที่โดดเด่นเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice) สามารถเป็นแนวทางให้สถานศึกษาอื่นๆ นำไปประยุกต์ใช้ได้กว่า 100 ตัวอย่าง
นอกจากข้อค้นพบที่โดดเด่นแล้ว ยังมีข้อค้นพบที่เป็นจุดเด่ นและจุดที่ควรพัฒนา 3 อันดับแรก ของแต่ละประเภทสถานศึกษา ดังนี้
การศึกษาปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็ก มีข้อค้นพบที่เป็นจุดเด่น ประกอบด้วย 1) เด็กส่วนใหญ่มีความสุข ร่าเริงแจ่มใส มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เล่นแสดงความรู้สึกควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมทั้งต่อตนเองและผู้ อื่นได้ รู้จักปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ ได้เหมาะสมตามวัย 2) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ ยวข้อง มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่ างผู้ปกครองชุมชนและหน่ วยงานภายนอก สื่อสารให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจั ดการศึกษาปฐมวัยและการจั ดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพั ฒนาเด็กปฐมวัย ส่งผลให้เกิดความร่วมมือระหว่ างศูนย์พัฒนาเด็กกับชุมชนเป็ นอย่างดี 3) ครูหรือผู้ดูแลเด็กมีการส่งเสริ มคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ปลูกฝังคุณธรรมและการเป็นสมาชิ กที่ดีของสังคม โดยการบูรณาการผ่านกิ จกรรมการเรียนรู้ในกิจวั ตรประจำวัน ทำให้การจัดประสบการณ์การเรี ยนรู้มีความต่อเนื่องเป็นระบบ จุดที่ควรพัฒนา ประกอบด้วย 1) เด็กบางส่วนยังไม่สามารถคิ ดและตัดสินใจแก้ปัญหาได้ตามวัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ยังไม่ สามารถส่งเสริมให้เด็กส่วนใหญ่ มีจินตนาการและความคิดสร้ างสรรค์ได้อย่างต่อเนื่อง 2) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยบางส่วนยั งขาดการนิเทศและประเมินการปฏิบั ติงานของครูหรือผู้ดูแลเด็ก ขาดการนำผลการประเมินไปใช้ ในการพัฒนาคุณภาพการจั ดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็ นระบบ การช่วยเหลือ แนะนำ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทางวิชาชีพของครูหรือผู้ดูแลเด็ กยังไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้การปฏิบัติงานของครูยั งไม่เป็นระบบและไม่ต่อเนื่อง 3) หลักสูตรของสถานพัฒนาเด็กปฐมวั ยบางส่วนไม่สอดคล้องตามบริบท ขาดการประเมินผลการใช้หลักสู ตรและแผนการจัดประสบการณ์การเรี ยนรู้ และขาดการปรับปรุงทบทวนหลักสู ตรให้เป็นปัจจุบัน ส่งผลให้การนำไปสู่การจั ดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรั บเด็กไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ ควร
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีข้อค้นพบที่เป็นจุดเด่น ประกอบด้วย 1) สถานศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้มีส่ วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่ วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม และมีการวิเคราะห์ข้อมู ลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาคุ ณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 2) สถานศึกษามีมาตรการรั กษาความปลอดภัยตามบริ บทของสถานศึกษาหรือตามนโยบายที่ ต้นสังกัดกำหนด มีแนวทางป้องกันและควบคุ มการแพร่ระบาดของโรค ติดตามเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดอุบัติภัย ภัยพิบัติ 3) สถานศึกษามีการจัดทำแผนงานพั ฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ มีความเชี่ยวชาญในการประกอบวิ ชาชีพและส่งเสริมให้ครูและบุ คลากรได้รับการอบรมพัฒนาทางด้ านวิชาชีพและการจัดการความเสี่ ยงความปลอดภัย นำไปสู่การทำผลงานเพื่อเลื่อนวิ ทยฐานะที่สูงขึ้น ส่วน จุดที่ควรพัฒนา ประกอบด้วย 1) สถานศึกษาบางแห่งยังกำหนดนโยบาย ทิศทาง กลยุทธ์ และแผนงานไม่สอดคล้องกับวิสัยทั ศน์ พันธกิจ และค่านิยม ขาดการบริหารงานอย่างมีส่วนร่ วมและขาดการนำผลการประกันคุ ณภาพทั้งภายในและภายนอกมาใช้ ในการพัฒนาสถานศึกษาอย่างเป็นรู ปธรรม 2) ผู้บริหารสถานศึกษาบางแห่ งขาดการนำผลการนิเทศไปพัฒนาคุ ณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู และยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรี ยนรู้ทางวิชาชีพของครูไม่ต่อเนื่ อง 3) สถานศึกษามีความพยายามในการสร้ างเสริ มความสามารถนำตนเองในการเรียนรู้ ของผู้เรียน แต่แหล่งเรียนรู้ยังไม่เพี ยงพอที่จะช่วยให้ผู้เรี ยนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง อีกทั้ง สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่ สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง แต่ยังขาดการบูรณาการแผนการจั ดการเรียนรู้ตามหลักสู ตรแกนกลางในการเสริมสร้างให้ผู้ เรียนมีสมรรถนะและคุณลักษณะที่ พึงประสงค์
ด้านการอาชีวศึกษา มีข้อค้นพบที่เป็นจุดเด่น ประกอบด้วย 1) ทักษะและการนำไปประยุกต์ใช้ ของผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา 2) สถานศึกษามีการบริหารจัดการทรั พยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิ ภาพ เช่น แหล่งเรียนรู้ สถานที่ฝึกงาน 3) สถานศึกษามีการส่งเสริมสนับสนุ นให้จัดทำนวัตกรรม (Innovation) สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และงานวิจัย ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ตามวัตถุประสงค์และเผยแพร่สู่ สาธารณชน จุดที่ควรพัฒนา ประกอบด้วย 1) สถานศึกษาควรจัดเก็บข้อมูลผู้ สำเร็จการศึกษาอย่างเป็ นระบบและสอดคล้องตามกระบวนการ PDCA 2) สถานศึกษาควรมีการพัฒนาหลักสู ตรร่วมกับสถานประกอบการทุ กสาขาวิชาและทำเป็นประจำอย่างต่ อเนื่อง 3) สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูมี การกระบวนการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรหรือเนื้ อหารายวิชาอย่างต่อเนื่องให้ทั นกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสังคม
ดร.นันทา กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพรวมผลการประเมินคุ ณภาพภายนอกประจำปีงบประมาณ 2567 อยู่ในระดับที่น่าพอใจ สถานศึกษาส่วนใหญ่เป็ นไปตามมาตรฐานซึ่งมีการดำเนิ นการตามเป้าหมายที่แต่ละสถานศึ กษากำหนดไว้ในแผนพัฒนากว่าร้ อยละ 90 และมีแบบอย่างที่ดี (Best Practice) ในทุกระดับการศึกษารวมมากกว่า 100 ตัวอย่างซึ่ง สมศ. จะทำการรวบรวมและตรวจสอบความถู กต้องของข้อมูลเพื่อเผยแพร่หน้ าเว็บไซต์ สมศ. www.onesqa.or.th สำหรับให้สถานศึกษาที่สนใจเข้ ามาศึกษา และนำตัวอย่างที่เหมาะสมไปปรั บใช้ให้สอดคล้องกับบริบทสถานศึ กษาของตนต่อไป
สำหรับการประเมินคุ ณภาพภายนอกประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สมศ. ยังคงยึดหลักการประเมินคุ ณภาพภายนอกตามนโยบาย ลดภาระ เรียนดี มีความสุข ของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิ การ และมุ่งเน้น 3 ประเด็นหลักเช่นเดิม คือ1) การประกันคุณภาพภายนอกเพื่ อการพัฒนา และยกระดับคุณภาพ (Quality Improvement) ไม่ใช่การประเมินเพื่อตัดสินว่ าผ่าน หรือ ไม่ผ่าน แต่เน้นสะท้อนภาพความเป็นจริง พร้อมให้ข้อเสนอแนะที่สอดคล้ องตามบริบทของสถานศึกษา 2) มุ่งลดภาระครูและบุ คลากรทางการศึกษา ลดการใช้เอกสาร และงดพิธีการต้อนรับต่างๆ และ 3) นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สนั บสนุนการประเมินตั้งแต่ต้ นจนจบกระบวนการ เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนและความซ้ำซ้อน รวมถึงเพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพในการประเมิน ดร.นันทา กล่าวทิ้งท้าย