แชร์

"เมื่อระบบล่มในวันสุดท้าย! ใครรับผิดชอบ? มหาวิทยาลัย นักเรียน หรือระบบ?"

อัพเดทล่าสุด: 27 พ.ย. 2024
36 ผู้เข้าชม

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา TCAS กลายเป็นหัวใจสำคัญของการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับนักเรียนไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่ในบางปี ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการล่มของระบบรับสมัคร ทั้งระบบการยื่นรับสมัครอย่างระบบกลางหรือระบบของทางมหาวิทยาลัย และมักจะเกิดขึ้นในวันสำคัญ เช่น วันสุดท้ายของการสมัคร สร้างความเครียดและความไม่พอใจให้กับทั้งนักเรียนและผู้ปกครองเป็นวงกว้าง


ปัญหาระบบล่ม : ความท้าทายที่ยังแก้ไม่ตก
เหตุการณ์ระบบล่มไม่ใช่เรื่องใหม่ ตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมา ระบบรับสมัคร TCAS รอบที่ 1 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดข้อขัดข้องในช่วงเวลาที่มีการใช้งานหนาแน่น คือ ช่วงวันสุดท้ายของการสมัคร แม้ทางมหาวิทยาลัยจะออกมาชี้แจงว่าสาเหตุหลักเกิดจากผู้ใช้เข้าใช้งานพร้อมกันเป็นจำนวนมากเกินไป แต่สำหรับนักเรียนที่ต้องพึ่งระบบนี้ การล่มเพียงไม่กี่นาทีก็อาจหมายถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป


แล้วเรื่องนี้มาจาดความผิดมหาวิทยาลัย หรือข้อจำกัดในระบบ?
นอกจากเรื่องการล่มของระบบแล้ว มหาวิทยาลัยที่มีบทบาทสำคัญในขั้นตอนการรับสมัคร โดยเฉพาะการกำหนดเงื่อนไขการยื่นคะแนนและวันสัมภาษณ์ หลายครั้งมีกรณีที่วันสัมภาษณ์ถูกกำหนดให้ใกล้เคียงกับวันประกาศผล ทำให้นักเรียนจากต่างจังหวัดไม่มีเวลาเตรียมตัวเพียงพอ และที่พบบ่อยสุดก็คงเป็นการจัดการระบบกลาง การบริหารเซิร์ฟเวอร์ หรือการประเมินจำนวนผู้ใช้ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเอาเข้าจริงการประเมินจำนวนผู้ใช้ที่อาจเกิดขึ้นนั้นถ้าถามไปที่ผู้พัฒนาระบบก็คงไม่ใช้เรื่องง่ายนักในการประเมิน เพราะถ้าไปสุดก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่ถ้าประเมินตามปริมาณจากปีก่อนก็คงยังสามารถจะเกิดปัญหาได้อยู่ดี เพราะต่อให้เด็กเท่ากันหรือน้อยกว่า ก็คงไม่ทราบได้ว่าเด็กจะบังเอิญเข้ามาพร้อมกันหรือไม่ แต่ก็ยังเป็นประเด็นที่ควรได้รับการพัฒนา

หรือจะมองว่าเป็นความรับผิดชอบของนักเรียน?
นอกจากปัญหาของระบบ นักเรียนเองก็มีบทบาทในการจัดการเวลาและข้อมูลส่วนตัว หลายคนเลือกสมัครในช่วงเวลาสุดท้าย ซึ่งเป็นช่วงที่มีผู้ใช้งานสูงสุด ส่งผลให้ระบบเกิดการหน่วงหรือขัดข้อง ขนาดระบบบัตรคอนเสิร์ตบางครั้งที่รู้อยู่ว่าจะมาพร้อมกับผู้ใช้ที่มหาศาล การเข้าใช้พร้อมกันในจำนวนมาก ๆ ก็ยังสามารถเกิดปัญหาได้อยู่ อย่างไรก็ตาม สำหรับนักเรียนที่ไม่ได้สมัครในช่วงต้นอาจเป็นเพราะต้องรอผลคะแนน หรือยังไม่แน่ใจในตัวเลือกของตนเอง ทำให้ความผิดนี้ไม่อาจกล่าวโทษเด็ก ๆ ได้ทั้งหมด เพราะยิ่งเป็นอนาคตก็เป็นการตัดสอนใจที่ยากลำบากเสมอ

เรื่องนี้ไม่มีใครผิดจริงหรือ?
ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยตรง แต่สะท้อนถึงความจำเป็นในการปรับปรุงระบบในภาพรวม ตั้งแต่การออกแบบระบบ ไปจนถึงการบริหารเซิร์ฟเวอร์ให้รองรับปริมาณผู้ใช้งานมากขึ้น ไปจนถึงการจัดการกระบวนการสมัครในแต่ละมหาวิทยาลัยให้มีความยืดหยุ่นและชัดเจนมากขึ้น รวมถึงน้อง ๆ ก็อาจต้องเพิ่มการวางแผนเผื่อให้กับตัวเอง เพราะสิ่งที่แน่นอนเราก็ไม่สามารถมั่นใจว่าจะเป็นไปตามนั้นได้เสมอไป


สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้จากปัญหาเหล่านี้ ทั้งน้อง ๆ และผู้เกี่ยวข้องควรเตรียมตัวล่วงหน้าให้พร้อม เช่น การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสมัคร และการมีแผนสำรองในกรณีที่ระบบขัดข้อง ขณะเดียวกัน ทปอ. และมหาวิทยาลัยควรพัฒนาระบบและการสื่อสารเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ในลักษณะนี้ในอนาคต ที่สำคัญคือ อย่าหลงไปกับกระแสดราม่า การตีปั่นให้อยู่ในกระแส เราไม่สามารถบอกได้ว่าเราเอาตัวเองตั้งแล้วเอาคนอื่นหาร เมื่อเกิดการผิดพลาดมองไปที่คนอื่นเสมอว่าผิด โดยที่ไม่ได้เตรียมการเผื่อทางเลือกให้ตัวเอง นั่นก็อาจเป็นทักษะการบริหารจัดการที่ทั้งมหาวิทยาลัย ทปอ. และนักเรียนควรจะตระหนักร่วมกันมากว่า

แหล่งอ้างอิง:
ข่าวจากเว็บไซต์ Dek-D
รายงานปัญหาจากผู้ใช้งานจริงและการสัมภาษณ์ใน TrueID
ข่าวจาก MGR Online

About the author : #ปั่นว่างั้น 


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy